บทสัมภาษณ์ คุณธนกฤษ ทาโน (คุณแบงค์) CEO & Co-Founder บริษัท แอลเอฟฟินเทค จำกัด

LF Started

LF มีจุดเริ่มต้นมาได้อย่างไร ?

เริ่มจากทางทีมผู้บริหารที่รู้จักคุ้นเคยกันมาอยู่แล้วได้ชักชวนกันมาสร้างบริษัท Startup ร่วมกันในกลุ่มอุตสาหกรรม Fintech ชื่อว่า LetsFunds ซึ่งแต่ละคนมีประสบการณ์และความสามารถที่แตกต่างกันไป ตัวแบงค์มีประสบการณ์ทางด้านการวิเคราะห์สินเชื่อ บริการทางการเงิน สินเชื่อของธนาคาร ส่วนคุณเปิ้ลนั้นเคยร่วมงานกับทางภาครัฐเชี่ยวชาญทางด้านการขอทุนสำหรับธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม แต่การพัฒนานวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดการพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีคุณเบนซ์เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและพัฒนาซอฟต์แวร์ที่คร่ำวอดอยู่ในวงการมากกว่า 10 ปี ได้ร่วมมือกันจนกลายมาเป็น บริษัท แอลเอฟฟินเทค จำกัด LF ย่อมาจาก LetsFunds และ Fintech มาจากอุตสาหกรรมที่เราสนใจอยากจะทำอย่างเช่นในปัจจุบัน

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ?

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พันธกิจของเราเป็นเหมือนเดิมตั้งแต่วันที่เริ่มต้นจวบจนถึงทุกวันนี้ เราเป็นหนึ่งในเบื่องหลังความสำเร็จของผู้ประกอบการ Startup SMEs องค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชน โดยเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่าง LetsFunds เป็นระบบที่ช่วยจับคู่เงินทุน เงินกู้ให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการพยายามเข้าใจผู้ประกอบการเพื่อหา Solution มาตอบโจทย์ความต้องการ และใช้หลักการเดียวกันในกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาเรื่อย ๆ อย่างเช่น inteGreat ที่เราทำร่วมกับ Thai-BISPA (สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย) เพื่อดูแลผู้ประกอบการในการดูแลบ่มเพาะ และพัฒนามาเรื่อย ๆ มาจนถึงระบบ MANAมานะ ที่พัฒนามาเพื่อ อำนวยความสะดวกในการบริหาร จัดการการทำงานในองค์กร Aceform ระบบฟอร์มเก็บข้อมูล และเครื่องมืออื่น ๆ อีกมากมายที่เรากำลังพัฒนาเพื่อเป็นตัวช่วยในการประกอบธุรกิจ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

innovation เพราะเทคโนโลยีนวัตกรรม

คือเครื่องมือที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตในยุคดิจิทัลนี้ digital tools

Manage

ใช้หลักการในการอะไรบริหารองค์กร ?

เราได้ดึงหลักการจุดเด่น จุดแข็งต่าง ๆ จากบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่ประสบความสำเร็จอย่าง Google, Facebook อีกอย่างนึงทางแบงค์เองก็ได้นำ Frame Work ที่ได้ศึกษามาอย่าง Agile, OKRs เป็นต้น แต่เราก็ไม่ลืมที่จะรับฟังเสียงจากทีม ร่วมกันสร้าง Culture องค์กรที่ดีอยู่กันอย่างพี่แบบน้องเปิดกว้างทางความคิดพัฒนาความศักยภาพของบุคลากร ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างทัดเทียมและฟังความคิดเห็นความต้องการของลูกค้า เพราะเราจะไม่สามารถมีวันนี้ได้ถ้าขาดทีมงานและลูกค้าที่ไว้ใจคอยสนับสนุนเราอย่างดีเสมอมา ซึ่งถ้าเรามีหลักการแต่คำนึกถึงความเป็นจริงมีการพูคุยแลกเปลี่ยนความคิดนี่แหล่ะคือการบริหารที่ลงตัวและหลอมรวมกันให้ได้ Solution ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

พาทีมฝ่าวิกฤต Covid-19 มาได้อย่างไร ?

เป็นความโชคดีที่เราอยู่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลประกอบกับที่เราได้มีการพัฒนาเครื่องมืออย่าง MANA ขึ้นมาพอดี จึงทำให้เราสามารถทำงานสื่อสารกันได้อย่างปกติ แต่ยังไงแล้วอุสาหกรรมนี้ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว อีกทั้งเราพยายามมองหาลูกค้ากลุ่มใหม่จากเดิมที่เป็นลูกค้าทั่วไปที่มีความหลากหลาย เป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีความพร้อมที่จะปรับองค์กรเป็นดิจิทัลยิ่งทุกคนได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่ทุกคนเผชิญ ทำให้เราได้รับประสบการณ์และทดลองหาวิธีการพร้อม ๆ กันและสามารถนำสิ่งเหล่านี้ที่เป็นจุดแข็งไปเป็นจุดขายให้ลูกค้าเชื่อมั่นว่าถ้าเราสามารถทำได้ ลูกค้าก็สามารถได้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน

มีวิสัยทัศน์และวางแผนอนาคตอีก 3 ปีอย่างไร ?

ย้อนกลับเมื่อ 3 ปีก่อน ธุรกิจของเราเกิดขึ้นอย่างราบเรียบและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่บอกว่าเราจะพัฒนาไปเป็นอะไรแต่เราจะพยายามปรับตัวเองให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด การปรับตัวต้องเร็วกว่านี้โดยการพัฒนาศักยภาพของทีมงานพัฒนาเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ เพื่อสอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญลูกค้าต้องได้รับบริการที่เป็นมืออาชีพ และมีเครื่องมือที่เหมาะสม กับธุรกิจของลูกค้านั้น ๆ เพราะสถานการณ์ทุกวันนี้ไม่ต่างจากสภาวะสงคราม ทำให้เราตระหนักได้ว่าอนาคตต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เห็นว่าองค์กรจะพ่ายแพ้ต่อวิกฤตหรือสามารถปรับตัวและเดินหน้าต่อไปได้