Blockchain นำพาการเกษตรเข้าสู่ยุค Digital Transformation

เกษตรกรรมถือเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก การทำการเกษตรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งขั้นตอนการผลิตที่ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ด้วยปัจจัยจากสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศโรคภัยต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุของพืชผลนั้น ๆ เช่นกัน ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเกษตรในยุค Digital Transformation ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้มีความเติบโตของตลาดและผลผลิตก็มีสูง หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและหลายคนพูดถึงกันมากที่สุดคือ Blockchain ที่มีศักยภาพ ส่งผลให้หลายภาคอุตสาหกรรมได้นำ Blockchain เข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เป็นการทำ Digital Transformation ที่ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าและประสิทธิภาพในการทำงาน Blockchain จึงถูกนำมาพัฒนาเกษตรกรรมในหลายประเทศด้วยกัน

หลักการทำงานของ Blockchain

เป็นเทคโนโลยีที่มีความความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ใน Blockchain มันจะเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ซึ่งข้อมูลที่ถูกเพิ่มเข้าไปจะถูกยืนยันความถูกต้องหรือไม่ ก็ต่อเมื่อในเครือข่ายตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าประวัติการทำธุรกรรมนั้นถูกต้องทั้งหมดแล้วเท่านั้น ทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อม ๆ กัน Blockchain พัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันว่า Smart Contract บน Blockchain ที่ไม่มีตัวกลางควบคุมและไม่ต้องกลัวใครไม่ทำตามเงื่อนไข สามารถปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตร จะสามารถช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและการบริหารจัดการทรัพยากรไปได้ค่อนข้างมาก รวมไปถึงการพัฒนาระบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมเพื่อสร้างมาตรฐานและตรวจสอบคุณภาพของระบบได้อย่างละเอียด ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงการจ่ายเงินของลูกค้า

ทำไมต้อง Blockchain?

หลายคนอาจคิดว่า Blockchain เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain คือระบบฐานข้อมูล รูปแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง สามารถจัดเก็บรายละเอียดได้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงภาคเกษตรกรรม

นอกจากนี้ หลายบริษัทที่ทำการซื้อขายหรือลงทุนในสินค้าพืชผลมีความคิดเห็นว่า การที่พวกเขา ได้รู้รายละเอียดของสินค้า “อย่างละเอียด” ก่อนการซื้อขายน่าจะเป็นการดีในการตัดสินใจ โดยรายละเอียดข้อมูลเหล่านั้นควรมีการระบุปริมาณสารอาหารในพืชแต่ละผล, ลักษณะการเก็บเกี่ยวพืชและศักยภาพของพืชผล, การคาดเดาล่วงหน้าถึงรายได้ได้มากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัทที่เป็นผู้ผลิตและสร้างความไว้ใจให้กับผู้ลงทุนได้

Blockchain แก้ปัญหาเกษตรกรโดนกดราคา

Blockchain คือ เครือข่ายที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรม ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ กล่าวคือ ผู้ทำธุรกรรมทุกรายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมของฝ่ายอื่น ๆ ได้ จากแต่เดิมที่จะเห็นเฉพาะข้อมูลธุรกรรมที่ทางฝ่ายตนบันทึกไว้ การนำ Blockchain มาทำ Digital Transformation จะตัดคนกลางในการทำธุรกรรมออกไป

ลักษณะตรงนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรโดนกดราคาได้ เพราะข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะสามารถนำมาตรวจสอบได้ว่าราคาที่เกษตรกรได้รับมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ Blockchain จะช่วยให้การค้าสินค้าเกษตรมีความโปร่งใสมากขึ้น

Blockchain ยังช่วยให้เกิดการทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างบุคคล โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางที่มีหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือเหมือนในอดีต ลักษณะตรงนี้จะช่วยตัดคนกลางที่มีหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือในการซื้อขายสินค้าเกษตรออกไป เป็นผลให้ต้นทุนในการค้าสินค้าเกษตรลดลง ซึ่งต้นทุนที่ลดลงตรงนี้อาจช่วยให้ราคาสินค้าที่เกษตรกรได้รับปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

เทคโนโลยี Blockchain นับว่าเป็นการทำ Digital Transformation ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อภาคการเกษตร ซึ่งสามารถแก้ปัญหาในภาคเกษตรของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์

อ้างอิง : https://www.marketingoops.com/exclusive/insider-exclusive/blockchain-4-0/

https://www.bangkokbanksme.com/en/blockchain-agriculture

Google Workspace หรือ Microsoft 365 ระบบไหนตอบโจทย์การทำงานในองค์กรของคุณ