ทำความรู้จักกับ Blockchain

Blockchain คือระบบฐานข้อมูล หรือรูปแบบการเก็บข้อมูล (Database) รูปแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ภายใต้โครงสร้างของเทคโนโลยี Blockchain ถูกกระจายไปยังเครื่องของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย และถ้ามีคนพยายามสร้างรายการธุรกรรมปลอมขึ้นมา ข้อมูลก็จะขัดแย้งกับข้อมูลในเครื่องของสมาชิกอื่น ๆ ในเครือข่าย มีความน่าเชื่อถือมาก มีการปกป้องข้อมูลได้ดีเยี่ยม การใช้ Blockchain นั้นจะทำให้การทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดย Blockchain ก็เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้นๆค่ะ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain แล้วจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไข

การที่ทุกคนถือเอกสารชุดเดียวกันเมื่อไหร่ที่เอกสารมีการอัพเดท ทุกสำเนาในมือจะถูกอัพเดทไปด้วยเช่นกัน โดยมั่นใจได้ว่าเอกสารนั้นเชื่อถือได้แน่นอนไม่มีการปลอมแปลง

องค์ประกอบของเทคโนโลยี Blockchain ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักสำคัญ คือ

Block ทำหน้าที่กระจายข้อมูลเอาไว้ โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ เป็นชุดบรรจุข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของ Block Header สามารถบอกให้คนอื่นได้ทราบว่าภายในนั้นได้บรรจุอะไรไว้ และส่วนที่ 2 คือ Block Data ใช้บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สกุลเงิน Bitcoin ข้อมูลจำนวนเงิน ข้อมลการโอน หรือข้อมูลอื่น ๆ

Chain เป็นการนำเอา Block มาต่อ ๆ กัน โดยเก็บค่า Hash ไว้ในกล่องถัดไป

Chain คือหลักการจดจำทุกการทำธุรกรรมของทุนคนในระบบและบันทึกข้อมูลพร้อมจัดทำเป็นสำเนาบัญชี Ledger แจกให้กับทุกคนในระบบ สำเนา Leader นั้นจะถูกกระจายต่อไปให้ทุก ๆ Node ในระบบเพื่อให้ทุกคนรับทราบว่ามีธุรกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง

Consensus คือการกำหนดข้อตกลงและความเห็นชอบร่วมกันระหว่างสมาชิกในเครือข่าย Blockchain เป็นข้อตกลงที่พิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูล Proof of work ว่าไม่ได้ถูกแฮ็กข้อมูลมา เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องและเป็นชุดข้อมูลชุดเดียวกัน

Validation คือการตรวจสอบความถูต้องแบบทบทวนทั้งระบบทุก Node ใน Blockchain เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตาม ซึ่งกระบวนการตรวจสอบนั้นต้องเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ประเภทของ Blockchain มี 3 ประเภท ประกอบไปด้วย

1.Public Blockchain เป็น Blockchain ที่เปิดให้ทุกคนสามารถให้เข้าถึงได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติ

ข้อดี องค์กรนั้นไม่ขำเป็นต้องลงทุนซื้อ Server เองตั้งแต่แรก สามารถเช่า Cloud server จ่ายตามที่เราใช้งานได้ การส่งข้อมูลไปให้หน่วยงานผู้รับปลายทางเราก็ไม่ต้องมาสร้างช่องทางส่งข้อมูลกัน หรือในตอนนี้เรานิยมทำ Web Service API คุยกัน องค์กรผู้ส่งข้อมูลเพียงแค่ใส่ข้อมูลลงไปใน Blockchain และจ่าหน้าซองข้อมูลถึงองค์กรผู้รับเท่านั้นผู้รับก็ได้รับข้อมูลไปโดยทันที

ข้อเสีย มีความช้าและสิ้นเปลือง  เพราะปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลทั่วทุกมุมโลก ข้อมูที่เราส่งไปใน Public Blockchains นั้นเป็นข้อมูลสาธารณะที่มีการเปิดเผยแก่สาธารณะชน นั่นแปลว่า ข้อมูลจะไม่เป็นความลับ ถ้าหากต้องการความเป็นส่วสนตัว องค์กรต้องหาวิธีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่ง ซึ่งเป็นขั้นตนที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน

2.Private Blockchain เป็นการสร้างระบบ Blockchain เพื่อใช้งานแค่ภายในองค์กรกันเอง หรือเป็นบริษัทในเครือเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ใช้งานได้ ข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ก็จะถูกเก็บอยู่ภายในเฉพาะเครือข่ายที่ประกอบไปด้วยสมาชืกที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ข้อดี ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเป็นความลับ เราสามารถปรับเกณฑ์ต่าง ๆ ของ Network ได้ดังใจเราต้องการไม่ต้องออกแบบระบบตามกฎเกณฑ์ และเราสามารถกำหนดผู้ใช้งานได้

ข้อเสีย ไม่มีการกระจายแอำนาจในการตรวจ ทำให้ผู้ยืนยันความถูกต้องของ Transaction (Miner) ถูกจำกัด องค์กรต้องลงทุนในการสร้างระบบ Infrastructure ขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานภายในองค์กร

3.Consortium Blockchain คือการรวมแนวคิดของ Public Blockchains กับ Private Blockchain เข้าด้วยกัน แนวคิดนี้ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ในการประยุกต์ใช้กับองค์กรต่าง ๆ ที่มีลักษณะธุรกิจเหมือนกันและต้องรับ-ส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่แล้ว

ข้อดี ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลสำคัญขององค์กรและลูกค้าจะกลายเป็นข้อมูล Public ไม่ต้องแบกรับต้นทุนไว้ในองค์กรเดียว สามารถรับ-ส่งข้อมูลของธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ง่าย ข้อมูลสำคัญจะไม่หาย หรือถูกดัดแปลงได้ง่าย

ข้อเสีย ความไม่คล่องตัวในการปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งานต่าง ๆ เพราะอาจจะต้องผ่านการเห็นชอบจาก  Consortium นั้นๆ

การที่องค์จะเลือกใช้งาน Blockchain ไม่ว่าจะลักษณะใดนั้นไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัวขึ้นอยู่กับการใช้งานและการลงทุน การออกแบบให้รองรับในอนาคตหรือแม้เงื่อนไขการให้บริการแก่ลูกค้าสะดวกใจที่เราจะพัฒนาระบบบน Blockchain แบบใด

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมด้วย Workflow ให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด