5 ประโยชน์ของร้านอาหารที่ทำ Digital Transformation ด้วย Food Delivery Platform

เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่บูมของธุรกิจ Delivery Service  ในช่วง 3-4 ปีมานี้ จากปัจจัยต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มีหลายธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่เป็นยุคออนไลน์ เทรนด์เทคโนโลยีที่ตอนนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น ธุรกิจร้านอาหารกว่า 90 % ใช้บริการ Food Delivery Service เหล่านี้ แต่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านก็ยังลังเลว่าจะนำร้านอาหารของเราไปลงในแอป ฯ เหล่านี้ดีหรือไม่

อย่างที่รู้กันในช่วง Covid-19 สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของร้านอาหารก็คือ การเดินทางมาหน้าร้าน เป็นเหตุผลที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ร้านอาหารต่าง ๆ ในยุคนี้ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และต้องอย่าให้การเดินทางเป็นตัวขวางกั้นการขาย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อาหารเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ในทุก ๆ วัน ทางออกสำคัญสำหรับร้านอาหารคือการปรับตัว อย่างที่จะยกตัวอย่างในวันนี้คือ การหันมาทำเดลิเวอรี ส่งอาหารตรงถึงมือลูกค้าแทนการมาทานที่ร้าน ลดความเสี่ยงของทั้งพนักงานและผู้บริโภค นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวเข้าสู่การทำ Digital Transformation ที่ไม่มีสูตรตายตัว เพราะแต่ละธุรกิจก็มีแนวทางที่ต่างกันไป วันนี้ LFFintech ขอทำเสนอ 5 ประโยชน์ของร้านอาหารที่ทำ Digital Transformation ด้วย Food Delivery Platform สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการจะปรับตัว จะมีประโยชน์และมีแนวทางยังไงมาดูกัน

ก่อนที่เราจะปรับตัวเข้าสู่การทำ Digital Transformation ด้วย Food Delivery  อยากแนะนำก่อนว่าธุรกิจ Delivery Service มักจะดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C ที่จะเน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจของคุณกับคู่ค้า สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายธุรกิจให้กับทุกฝ่าย หรือ “win-win situation”  ซึ่งลูกค้าทั่วไปได้รับอาหารที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาเองกล่าวคือ Food Delivery Service คัดเลือกร้านอาหารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ร้านริมทางจนถึงร้านอาหารบนห้างสรรพสินค้า Food Delivery Service ไปติดต่อธุรกิจร้านอาหารและเสนอให้เข้าร่วมแพลตฟอร์ม และทำการจัดส่งอาหารให้กับลูกค้าของร้าน โดย Delivery Service ได้ค่าจีพี คอมมิสชัน ส่วนร้านอาหารได้รายได้จากการขายอาหาร ที่กล่าวมาเป็นหนึ่งในวิธีการปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Transformation สำหรับธุรกิจร้านอาหาร พูดมาถึงตอนนี้คงจะเข้าใจกันมากขึ้นไม่มากก็น้อย ธุรกิจ Delivery Service นี้เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะนอกเหนือจากการจัดส่งแล้ว ตัว Platform นั้น ทำอะไรได้อีกมากมาย ลูกค้าได้รับอาหารหรือสิ่งของที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเลยแม้แต่นิดเดียว

ประโยชน์จาก Platform Food Delivery ในยุค Digital Transformation

1. ได้ลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากขึ้น
จากเดิมทีร้านอาหารมักจะมีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าที่อยู่ในบริเวณนั้น แต่พอมีช่องทาง Online เข้ามารวมกับบริการจัดส่ง ร้านอาหารสามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น

2. ไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดส่ง
เสมือนได้ผู้ช่วย ภาระการจัดส่งและการติดต่อลูกค้าปลายทางออกไป หากเกิดปัญหาระหว่างการจัดส่งก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทาง Delivery service ที่จะต้องประสานงานและชดเชยความเสียหายต่างๆ ร้านอาหารเพียงแค่ต้องกดรับออเดอร์ ทำอาหารให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด และส่งมอบให้พนักงานจัดส่ง

3. เข้าถึงข้อมูล บริหารจัดการออเดอร์และการเงินได้แม่นยำ
ร้านอาหารสามารถดูข้อมูลออเดอร์ต่างๆ ได้บน Platform ที่ Food Delivery จัดทำให้ โดยข้อมูลนี้เองมีประโยชน์ต่อการบริหารร้านอาหารมาก เพราะร้านสามารถดูได้ว่าเมนูไหนที่ขายดี ช่วงเวลาไหนที่มีคนสั่งเข้ามาเยอะ โปรโมชันแบบไหนที่คนชอบ ทำให้สามารถวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้าได้คร่าว ๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการเก็บเงินสด การทอนเงินผิด หรือ ปัญหาเงินหาย เพราะลูกค้าได้ชำระเงินผ่าน App มาเรียบร้อยแล้ว

4. โอกาสในการเพิ่มยอดขาย
ผู้ใช้หลายคนที่เคยใช้ Food Delivery คงคุ้นเคยกับแคมเปญกระตุ้นการขายที่ทาง Food Delivery Platform ได้จัดโปรโมชันกระตุ้นยอดขายให้แก่ร้านค้าในแพลตฟอร์ม และอีกหลายร้านอาหารสร้างการรับรู้ได้ด้วยแพลตฟอร์ม Food Delivery และการได้สร้าง Brand จะนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น

5. ไม่มีหน้าร้าน ต้นทุนที่ต่ำกว่า
เราอยู่ในยุคที่ผู้คนหันมาสั่งอาหารแบบ Food Delivery มากขึ้น เพราะมือถือสามารถช่วยให้เราสั่งอาหารจากร้านต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเจอปัญหารถติด ไม่ต้องนั่งรอคิว การไม่มีหน้าร้านสามารถลดต้นทุนเรื่องทำเลของร้านได้เหมือนกัน

การสมัครเป็นร้านอาหารกับ Food Delivery

การใช้แอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ย่อมเป็นอีกทางที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับร้านอาหารได้เป็นอย่างมาก แต่ในข้อดีก็มีข้อเสียซ่อนอยู่เช่นกัน เรามาเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการสมัครเป็นร้านอาหารกับแอป ฯ Food Delivery เพื่อช่วยในการตัดสินใจกันค่ะ

ข้อดี

  1. เข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายพื้นที่ ด้วยบริการของแอปพลิเคชันที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านอาหารได้มากขึ้น ทำให้มียอดขายสูงขึ้นไปด้วย
  2. ไม่ต้องหาคนส่งด้วยตนเอง ด้วยจำนวนผู้ขับรถส่งอาหารเป็นจำนวนมากจะช่วยให้อาหารไปถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  3. ทำงานได้สะดวก เป็นระบบผ่านแอปพลิเคชัน สามารถเปิด – ปิด หรือหยุดร้านชั่วคราวได้ด้วยตนเอง และยังตรวจสอบยอดขายผ่านแอปพลิเคชันได้อีกด้วย

ข้อเสีย

  1. ปัญหาจากราคา
    เนื่องจากแอปพลิเคชันเก็บค่าคอมมิชชันจากยอดขายร้านอาหาร 15% – 30% ทำให้ร้านค้าหลาย ๆ ร้านต้องขึ้นราคาอาหารให้แอปให้สูงกว่าราคาจริง จึงอาจเกิดปัญหาความไม่พอใจจากลูกค้าตามมาได้หากราคานั้นแตกต่างกันมากจนเกินไป นอกจากนี้ ยังอาจเกิดปัญหาการทำบัญชีของร้านเพราะราคาที่แตกต่างนี้ตามมาได้ด้วยจึงควรวางแผนการจัดการให้รอบคอบ
  2. รสชาติและคุณภาพอาหาร
    เนื่องจากการขนส่งอาหารอาจใช้เวลานานจนรสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงได้จนทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจได้
  3. การจัดคิวหน้าร้าน
    ออเดอร์ที่มาจากหลายทางก็อาจทำให้เกิดปัญหาการจัดการคิวระหว่างผู้จัดส่งที่มารอรับอาหารและลูกค้าหน้าร้านได้

ด้วยเทรนด์นี้เอง ทำให้ธุรกิจอาหารที่ยังไม่มีการขาย Online เริ่มเสียเปรียบเจ้าอื่นที่มีพร้อม ในอนาคตอันใกล้นี้เราคงต้องมาลุ้นกันอีกว่านอกจากธุรกิจ Delivery แล้วจะมีธุรกิจหรือเทคโนโลยีแบบไหนอีกที่เข้ามา Disrupt วงการอาหารได้อีก สร้างประสบการณ์ยกระดับให้กับผู้บริโภคและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการร้านอาหาร อย่างในบางประเทศเริ่มมีการจัดส่งด้วย Drone บินไปส่งบนตึกสูงได้ หรือใช้หุ่นยนต์วิ่งจัดส่งตามสถานที่ต่าง ๆ พฤติกรรมการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทย และน่าจะอยู่ต่อไปอย่างถาวร แม้สถานการณ์ Covid-19 จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรเพิ่มบริการ ในรูปแบบของฟู้ดเดลิเวอรี่เพื่อก้าวไปพร้อมกับเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเคล็ดลับทั้ง 6 ข้อข้างต้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกแพลตฟอร์มและในทุกสถานการณ์เพื่อสร้างยอดขายอย่างแข็งแกร่ง

อ้างอิง : Delivery 4.0 เมื่อบริการจัดส่งเข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจอาหาร
อ้างอิง : Food Delivery! สมัครเป็นร้านอาหารกับแอปฯ รับออเดอร์เดลิเวอรีดีหรือไม่?

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมด้วย Workflow ให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด