ย้อนรอยวงการเพลง ปรับตัวอย่างไรในยุค Digital Transformation

ย้อนไปเมื่อไม่กี่ปี หลาย ๆ คนที่ชื่นชอบการฟังเพลง อาจฟังเพลงผ่านเครื่องเล่นซีดีหรือดาวน์โหลดไฟล์เพลงลงในเครื่องเล่น MP3 แต่แล้วการฟังเพลงแบบเดิม ๆ ก็เปลี่ยนไป เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation  ทำให้เกิดแพลตฟอร์มในการฟังเพลงทำให้เราฟังเพลงได้แบบออนไลน์ ฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา และค้นหาเพลงที่คุณต้องการฟังได้ทั่วทุกมุมโลก ด้วย แพลตฟอร์ม Streaming Music

      ยุคสมัยของวงการเพลง หรืออุตสาหกรรมเพลง มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีจะพาไปที่ใด แต่วิธีของการทำเพลงแทบมีความเปลี่ยนปลงน้อยมาก อาจจะปรับแค่เพียงแค่มีอุปกรณ์บางอย่างมาช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น ทำให้เพลงมีความสดใหม่  ในการทำเพลงก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนเดิมไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ค่าห้องอัด คนเขียนเนื้อ คนทำทำนอง แบคกิ้งแทรค คนเรียบเรียง  Producer  โฆษณา และยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย

ยุคที่วงการเพลงรุ่งเรืองจริงๆคือยุคที่เน้นทำเพลงและขายโดยไม่ได้เน้นทำเพลงเพื่อขายศิลปินที่บางทีอาจจะมีการตลาดแบบในทุกวันนี้ ในสมัยก่อนจะเริ่มต้นขายเป็น แผ่นเสียง (Vinyl) และเริ่มพัฒนามาเป็น เทปคาสเซ็ตต์ ไปจนถึงแผ่นซีดี  ซึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการเพลงก็คือ การปรับเปลี่ยนของโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งในวงการเพลง เรียกว่า MP3 นั่นเอง ไฟล์ MP3 เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลทำให้ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดเล็กลงมาก และในช่วงนั้นที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ามาซึ่งทำ MP3 ถูกโหลดไปอย่างง่ายๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีใครสนใจเรื่องลิขสิทธิ์และความถูกต้อง ทำให้ยอดขายของเทป และซีดีลดลงไปอย่างรวดเร็ว

การปรับตัวครั้งใหญ่ของวงการเพลง

สมัยก่อนเมื่อค่ายเพลงปล่อยเพลงให้ดาวน์โหลด ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ไฟล์ของเพลงนั้นก็จะไปโผล่อยู่ใน 4shared หรือ MediaFire ทันที

ในยุคใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นการพัฒนาของ Digital Music ไปอีกขั้น เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าเร็วมาก จะเห็นว่าหน้าตาของโทรศัพท์ และเครื่องเล่นเพลงต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปเยอะ เครื่องเล่นแผ่นซีดีก็ทยอยหายไปจากตลาด วงการเพลงจึงต้องปรับตัวกันอีกครั้งไปสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า “Music Streaming”

Music Streaming
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับระบบ Streaming กันอยู่แล้ว อย่างเช่น YouTube ที่ดู ๆ กันอยู่ทุกวันนี่ก็คือระบบ Streaming อย่างหนึ่ง  Music Streaming คือเทคโนโลยีที่สามารถฟังเพลงได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดให้เสร็จก่อนนั่นเอง ข้อดีของมันก็คือ “ค่ายเพลงสามารถปล่อยเพลงให้คนฟังได้ โดยที่ไม่ต้องปล่อยไฟล์ MP3 ให้ดาวน์โหลด” ตรงนี้เองที่จะมาตอบโจทย์เรื่องการทำให้เพลงไปถึงมือคนฟังได้ก่อนของผี

ที่สำคัญอย่างยิ่งเลยก็คือ การโปรโมตเพลง และการขายเพลง กลายเป็นเรื่องเดียวกันแล้วเพราะเราสามารถใช้ช่องทางนี้ในการโปรโมตได้ด้วย และ “ทุกครั้งที่มีคนฟังเพลง คนทำเพลงก็จะมีรายได้” ซึ่งรายได้ที่มาสู่คนทำเพลงนั้น เจ้าของระบบจะหามาจาก 2 วิธี ก็คือ

1.    ค่าสมาชิกรายเดือน มีค่าสมาชิก ซึ่งเจ้าของเพลงจะได้ส่วนแบ่งจากค่าสมาชิก จึงจะสามารถฟังได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และบนโทรศัพท์มือถือ

2.    ค่าโฆษณาสมาชิกฟังฟรี ซึ่งเจ้าของเพลงจะได้ส่วนแบ่งจากโฆษณา และสามารถฟังได้เฉพาะบนคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากต้องการฟังบนโทรศัพท์มือถือด้วย จะต้องชำระค่าสมาชิกรายเดือน

ซึ่งแน่นอนว่าแบบที่สมาชิกได้ฟังฟรีย่อมได้รับความนิยมมากกว่าแน่นอน แต่ถึงแม้จะเป็นการฟังฟรี (โดยมีส่วนแบ่งค่าโฆษณามาช่วยนิดหน่อย) ถ้ามองในมุมโปรโมตก็ถือว่าตอบโจทย์ได้ แถมยังเป็นการฟังเพลงในช่องทางที่ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งเมื่อคนฟังพร้อมที่จะจ่ายเงินซื้อนิดหน่อยก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาข้ามระบบไปมาให้วุ่นวาย Music Streaming DEEZER หรือ Spotify เองเขาจะมีระบบ Offline Mode ทำให้ผู้ฟังนำเพลงไปฟังที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องสนใจว่าจะมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือไม่ คล้าย ๆ กับการดาวน์โหลด MP3 ลงเครื่องนั่นเอง

Google Workspace หรือ Microsoft 365 ระบบไหนตอบโจทย์การทำงานในองค์กรของคุณ