รู้ทันการโจมตีบนโลกไซเบอร์ ก่อนลงมือทำ Digital Transformation

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง เรื่องการแฮกข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ เพราะในยุคดิจิทัลนี้มีการโจมตีทางไซเบอร์ประเภทที่เป็นแบบเปิดเผยและแบบแอบแฝง บางทีก็สร้างความวุ่นวายในกับหลายองค์กร ซึ่งการโจมตีในบางครั้งอาจจะออกแบบมาเพื่อขัดขวางธุรกิจหรือองค์กร ที่ต้องการผลประโยชน์บางอย่าง บางครั้งส่งผลถึงการทำ Digital Transformation ให้ยากขึ้น เพราะองค์กรต่าง ๆ มีความกังวล เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร กังวลว่าจะมีการโจมตีเกิดขึ้นกับธุรกิจของตัวเอง อยากให้ธุรกิจระวังตัวมากขึ้น เมื่อบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ แฮกเกอร์ และอาชญากรไซเบอร์ที่ก็กำลังพัฒนารูปแบบการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำ Digital Transformation และการสร้างความปลอดภัยก็ต้องทำควบคู่กันไป องค์กรต้องปรับตัวและพัฒนาให้รับมือกับภัยทางไซเบอร์ให้ได้  ในบทความนี้ LFFintech จะยกตัวอย่างกล่าวถึงการโจมตีทางโลก Cyber ในเบื้องต้นให้ผู้อ่านได้รู้ทันการโจมตีและตระหนักถึงความสำคัญของ Cyber Security ก่อนที่จะลงมือทำ Digital Transformation ให้องค์กรของคุณ

ทำความรู้จักกับรูปแบบการโจมตีทาง Cyber

Malware

ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิก Malware หรือ Malicious Software คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์ เช่น Spyware, Ransomware (ไวรัสเรียกค่าไถ่) และ Viruses (ไวรัสคอมพิวเตอร์) หลายคนอาจจะเคยเห็นการแจ้งเตือนไวรัสที่มักปรากฏขึ้นบนหน้าจอหรือโปรแกรมแฝง Anti-Virus เมื่อเกิดไวรัสปลอมแปลงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งมักแฝงตัวอยู่กับไฟล์ดาวน์โหลด เปิดไฟล์แนบ หรือแม้แต่การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ

Phishing

Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยการตกปลาจะต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบ การสร้างสถานการณ์โดยใช้อีเมลที่คล้ายกับที่รู้จัก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเปิดไฟล์ และหลอกล่อผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หรือ ส่งโปรแกรมอันตรายให้ติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่แฮกเกอร์ต้องการ ภัยคุกคามจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากไม่เปิดไฟล์หรือข้อมูลที่เป็นความเสี่ยงทั้งหลาย แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกับดัก เพื่อหลอกล่อให้คุณคลิกติดตั้ง Malware นั่นเอง

SQL Injection Attack

SQL หมายถึง ภาษาที่มีโครงสร้างที่เขียนด้วยภาษาของโปรแกรมที่ใช้สื่อสารกับฐานข้อมูลภายในเซิร์ฟเวอร์ ถูกใช้เพื่อจัดการฐานข้อมูลของตนเอง ทำให้ผู้โจมตีสามารถโจมตีไปที่ SQL ส่งผลกระทบต่อระบบเซิร์ฟเวอร์โดยตรง สามารถจัดการขโมยหรือลบข้อมูลและข้อมูลในเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่ถูกบุกรุก การโจมตีในลักษณะนี้เป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับองค์กรได้มากมาย เนื่องจากในระบบเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละองค์กรจะมีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรเครดิตและระบบการเงิน อีกทั้งการโจมตีในลักษณะนี้จะสามารถเปิดช่องโหว่บนเซิร์ฟเวอร์ SQL ซึ่งสามารถสร้างปัญหาให้กับ Digital Transformation ได้ในระยะยาวเลยทีเดียวหากไม่มีการแก้ไขที่ทันท่วงที

Cross-Site Scripting (XSS)

เป็นวิธีการยอดนิยมที่แฮกเกอร์รู้จักดี เป็นการโจมตีคนที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเทคนิคการฝังโค้ดเข้าไปกับหน้าเว็บเพจที่มีช่องโหว่ XSS เป็นช่องทางที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถขโมย Cookie เพื่อใช้ในการแย่ง Session ของเหยื่อได้ หรือแก้ไขข้อมูลแบบฟอร์มที่ใช้ในการกรอก แก้ไขข้อมูลที่แสดงอยู่บนเว็บเพจเพื่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อแล้วทำให้เหยื่อทำอะไรบางอย่างที่แฮกเกอร์ต้องการ

Denial of Service (DoS)

เกิดขึ้นเมื่อแฮกเกอร์ส่งปริมาณการเข้าชมจำนวนมากกว่าปกติ หากมีการเข้าใช้งานเยอะเกินไป ก็จะทำให้เซิร์ฟเวอร์ของคุณเกิดเสียหาย และขัดขวางความสามารถในการให้บริการ บ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็มักมีเหตุผลอ้างกันว่ามีผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์จำนวนมากเกินไป แต่ในบางครั้งอาจเป็นอันตรายจากการคุกคามของ DOS ทำให้เกิดความผิดปกติของเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีเหล่านี้มักถูกนำมาใช้เพื่อล้มเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันให้ออฟไลน์ชั่วคราวและการโจมตีแต่ละครั้งอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหลายวันหรือนานกว่านั้น

ดังนั้น บริษัทหรือองค์กรควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ Cyber Security และหาแนวทางในการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางด้านข้อมูล ทั้งของบริษัทและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า รวมไปถึงการ Digital Transformation องค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น ตามไปอ่านเคล็ดลับความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ที่นี่ คลิก

อ้างอิง : https://monsterconnect.co.th/7-common-types-of-cybersecurity-attacks


เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมด้วย Workflow ให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด