ทำไม SME ต้องทำ Digital Transformation

เริ่มต้นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในทุกภาคส่วนของธุรกิจตั้งแต่การวางรากฐาน การดำเนินธุรกิจ การวางเป้าหมายในอนาคต การวางกลยุทธ์ วัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ธุรกิจปรับตัว และก้าวทันยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) เป็นสิ่งที่บริษัทต้องเข้ามาเรียนรู้ และปรับใช้ในการรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในอนาคต

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันแทบจะทุกมิติ ตั้งแต่ตอนตื่นนอนจนกระทั่งก่อนเข้านอน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมออนไลน์ การเสพสื่อบันเทิงต่าง ๆ เมื่อรูปแบบวิถีชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากเรายังทำธุรกิจแบบเดิม ๆ มีกระบวนการทำงานเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็รอเพียงวันล้มละลายได้เลย เพราะในยุคนี้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายมีให้เปรียบเทียบเยอะ รวมทั้งคู่แข่งของคุณ เขาไม่ได้รอให้ลูกค้าเดินไปหาเหมือนเมื่อก่อน แต่เขากลับเป็นฝ่ายเดินไปหาลูกค้าก่อนด้วยการปรับองค์กรให้เข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation)

ตัวอย่างการทำ Digital Transformation

ร้านอาหาร จากเดิมที่ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อที่ร้านเท่านั้น เปลี่ยนเป็นผู้บริโภคอยู่บ้านแล้วสั่งให้ร้านอาหารไปส่งอาหารให้ถึงบ้านเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้ร้านอาหารอีกด้วย

โรงพยาบาล จากเดิมที่ผู้มาใช้บริการต้องเดินทางมาต่อคิวเพื่อรอพบหมอที่โรงพยาบาล ก็เปลี่ยนมาเป็นการจองคิวผ่านแพลตฟอร์ม และหากผู้มาใช้บริการต้องการเพียงปรึกษากับหมอก็สามารถวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางและไม่ต้องมานั่งรอหมอที่โรงพยาบาล

การทำงานระหว่างบุคลากรกับองค์กรที่จากเดิมต้องเดินทางมาทำงานที่ออฟฟิศ ก็เปลี่ยนมาทำงานร่วมกันผ่านระบบต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ เช่น MANAWORK ที่เป็น Project Management ช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้เสมือนอยู่ออฟฟิศเดียวกัน และยังเป็นแพลตฟอร์มของคนไทยอีกด้วย สามารถลงทะเบียนใช้งานได้ฟรีเพียงคลิก https://manawork.com/

SME จะเริ่ม Digital Transformation ได้อย่างไร

เข้าใจธุรกิจของตนเอง ขั้นแรกในการที่เราจะทำอะไรเราต้องเข้าใจตนเองก่อน เพราะหากเราไม่รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง การจะก้าวเดินไปข้างหน้าหรือการตั้งเป้าหมายขององค์กรก็จะเป็นไปได้ยากหรืออาจจะทำให้เราหลงทางได้

การวิเคราะห์ข้อมูล การมีข้อมูลจำนวนมากจะเป็นเรื่องที่ดีก็ต่อเมื่อเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ได้และเมื่อวิเคราะห์แล้วข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีประโยชน์ต่อองค์กร เพราะหากเรามีข้อมูลจำนวนมากแต่เราไม่สามารถวิเคราะห์ได้ จะทำให้องค์กรเกิดความสับสนไม่รู้ว่าควรไปในทิศทางไหน

การกำหนด KPI ในการที่องค์กรจะเดินไปในทิศทางไหนจำเป็นที่จะต้องมีเป้าหมายในการเดินทาง เมื่อเรามีเป้าหมายเราก็จะต้องมี KPI ในการประเมินประสิทธิภาพของแผน เพื่อใช้ในการตัดสินใจและแนวทางในการทำงานขององค์กร

เทคโนโลยีที่จำเป็น ระบุเทคโนโลยีที่จำเป็นในการพัฒนาองค์กรว่าในส่วนใดควรใช้เทคโนโลยีตัวใดบ้าง และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้กับองค์กรจะส่งผลต่อองค์กรในด้านใดบ้าง ทั้งด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดีเพื่อที่จะหาจุดในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี

กระบวนการทำงานใหม่ อาจจะเปลี่ยนทั้งระบบหรือเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่าง เพราะการทำ Digital Transformation ต้องค่อย ๆ ปรับให้เข้ากับกระบวนการทำงาน ทั้งนี้ต้องดูธุรกิจของเราและบุคลากรเป็นตัวตั้ง และในบางครั้งการนำเข้ามาทั้งระบบเลยอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้ หากบุคลากรในองค์กรยังไม่เข้าใจการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะทำให้เกิดรอยต่อและช่องว่างในกระบวนการทำงานได้

การสร้างนวัตกรรมในองค์กร เมื่อองค์กรมีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาในด้านต่าง ๆ แล้วก็ควรที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นขององค์กรเราโดยเฉพาะ ซึ่งนวัตกรรมนี้จะมีความเป็นตัวของเรา การที่จะนำมาใช้ นำไปต่อยอดก็จะง่ายกว่าการนำเทคโนโลยีจากที่อื่นมาใช้

จากวิธีการทำ Digital Transformation ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้ Digital Transformation สำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้นบุคลากรทุกคนต้องไม่เป็นน้ำที่เต็มแก้ว มีมโนภาพเหมือนกัน และร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคที่ผ่านเข้ามา

เมื่อ Outsourcing กลายเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญของการ Transformation

AI + Cloud คืออนาคตของ Digital Transformation ในปี 2025