ก้าวสู่โลก Digital Transformation ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยหลักการ DELTA

Digital Transformation ประกอบขึ้นจาก 2 คำ คือ คำว่า Digital ที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูล ซึ่งในที่นี้หมายถึงข้อมูลที่ผูกพันธ์กับระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว ส่วนอีกคำคือ คำว่า Transformation ที่หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น เมื่อนำมารวมกันสรุปแล้ว Digital Transformation คือ คำที่มีความหมายกว้าง ๆ ใช้พูดถึงการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล​ มาพัฒนาต่อยอดหรือสร้างสิ่งใหม่ให้กับองค์กร แต่ในครั้งนี้จะเห็นว่าการปรับองค์กรสู่ Digital Transformation นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะบางครั้งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งาน โดยที่วัฒนธรรมคนในองค์กรยังไม่เข้าใจว่าจะนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยในการทำงานของพวกเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในบทความนี้ LFFintech จะมาอธิบายถึงแนวทางการการทำ Digital Transformation ด้วยหลักการ DELTA  ที่จะมาช่วยให้การทำ Digital Transformation เป็นเรื่องง่าย

Digital Transformation คือ?

เมื่อรวมกันแล้ว Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาพัฒนาต่อยอดสิ่งที่องค์กรมีอยู่หรือนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่ รวมถึงวิธีการ เครื่องมือในการดำเนินธุรกิจให้ดีขึ้น ตลอดจนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กรให้เหมาะสมกับธุรกิจในยุคดิจิทัลที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  

หลักการ DELTA ประกอบไปด้วย

D | Data ซึ่ง Digital Transformation จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดข้อมูล ไม่ว่าจะได้จากการบันทึกผลการดำเนินการ หรือสถิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ข้อมูลอื่น ๆ จากภายนอก ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือข้อมูลจากลูกค้า เพื่อจะได้มาซึ่งการวิเคราะห์ต่อว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริง ทำอย่างไรถึงจะสามารถแก้ปัญหา หรือแม้กระทั่งว่าการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือ Digital Transformation ต่อไป

E | Enterprise คือ การทำให้ทั้งองค์กรเห็นภาพเป็นภาพเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรทุกคนตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่วิธีการใหม่ ๆ อย่างการปรับองค์กรสู่  Digital Transformation ที่จะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเกือบทุก ๆ ด้าน แต่ไม่ใช่แค่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องให้บุคลากรในองค์กรเชื่อมั่นได้ว่า เครื่องมือที่ได้จากกระบวนการ Digital Transformation จะสามารถทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ของพวกเขาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้จริง ๆ

L | Leadership แน่นอนว่า หากไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้ริเริ่ม ผู้วางกลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ ก็จะไม่มีการเริ่มกระบวนการ Digital Transformation โดยตัวผู้นำนั้นต้องมีทักษะ และความรู้ความเข้าใจองค์กร และกระบวนการการดำเนินงานอย่างลึกซึ้ง ที่จะสามารถสื่อสาร และบริหารจัดการกระบวนการปรับองค์กรสู่ Digital Transformation ได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

T | Target ถ้าเกิดเราไม่มี Target การทำงานก็จะไม่รู้เป้าหมายของเราว่าคืออะไรกันแน่ ถ้าเราเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลไปทำอะไร ต้องการข้อมูลเอาไปต่อยอดด้านไหน การลงทุนกับการทำ Digital Transformation ตรงนี้อาจจะเป็นข้อผิดพลาดก็ได้ การที่เราระบุเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้เราเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุด สามารถศึกษาพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น ไม่เกิดการกระจัดกระจายของข้อมูลที่ไม่รู้เป้าหมายของตนเอง

A| Analytics ในยุค Digital Transformation แบบนี้ “ข้อมูล” ก็เหมือน “สินทรัพย์” ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การที่องค์กรจะรับรู้ถึงความต้องการของตัวเอง สถานการณ์ที่องค์กรกำลังเป็นอยู่ หรือสิ่งที่องค์กรมีดีอยู่แล้ว และสามารถต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการทำ Digital Transformation ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับองค์กรได้จริง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลลัพธ์จากการวิเคราะห์เชิงลึกทั้งสิ้น


การทำ Digital Transformation นั้นมีขั้นตอนที่ท้าทาย ต้องอาศัยหลักการมาใช้ในกระบวนการเพื่อกลั่นกรองให้ได้แนวคิด และวิธีการที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการ Digital Transformation องค์กร แต่เชื่อเถอะว่า ในโลกยุคที่ถูก Digital Disruption จำเป็นจริง ๆ ที่ต้องได้รับการ Digital Transformation เพื่อหาโซลูชันในการลดความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ หรือเสริมให้การทำงาน เป็นเรื่องที่ง่ายและได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด เพื่อรองรับการขยายตัวขององค์กรธุรกิจในอนาคต

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมด้วย Workflow ให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด