ยกระดับองค์กรด้วยการทำ Digital Transformation Framework

Digital Transformation Framework หรือแนวทางในการทำ Digital Transformation ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจริงในการเริ่มต้น และช่วยกระชับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ รวมไปถึงความคิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และถ้าหากว่าเราจะต้องเริ่มต้นในการทำ Digital Transformation เราจะต้องมองหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นแนวทางหรือคู่มือในการนำทางให้กับเรา เราจะได้เดินไปในทางที่ถูกต้อง และเราจะได้รู้ว่าสิ่งไหนที่เราน่าจะต้องทำ หรืออะไรที่เรายังไม่ได้ทำ และเราจะมาแนะนำ Framework ของบริษัท McKinsey เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทของตัวเอง

เนื่องจากบริษัท McKinsey นั้นเขาได้ให้คำปรึกษา และได้เข้าไปทำให้บริษัทต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในด้านของการปรับตัวให้กับบริษัทต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เราจึงมี10 หัวข้อที่จะทำให้บริษัทของคุณสามารถปรับตัวให้เข้ากับยุค Digital Transformation ได้นั้นจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และพร้อมที่จะปรับตัว

ซึ่งในข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้ เพราะถ้าหากเราพูดถึงเรื่องของงบประมาณ และการตัดสินใจในมุมมองเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงการเป็นผู้นำในการที่จะปรับปรุงนั้น ผู้บริหารระดับสูงนี่แหละที่จะสามารถทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะการตัดสินใจการจัดสรรงบประมาณใด ๆ นั้นก็จะขึ้นอยู่กับผู้บริหารนั่นเอง อีกทั้ง ถ้าผู้นำเป็นคนที่เริ่มต้น ในการทำ Digital transformation เขาจะมองเห็นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนบริษัทไปในทิศทางไหน หรือว่าจะต้องทำอะไร เพื่อให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้บ้างในบริษัท ดังนั้นการที่เราจะเปลี่ยนแปลงได้ต้องรับรู้และก็พร้อมที่จะเปลี่ยนด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วไปไม่รอดแน่นอน

การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

คำพูดที่แย่ ๆ นั้นเมื่อได้พูดออกไปแล้วเราจะไม่สามารถเอามันคืนกลับมาได้ และมันก็จะทำลายความเชื่อมั่นไปด้วย ส่งผลสุดท้ายก็คือความล้มเหลวในการทำ Digital Transformation ดังนั้นเราจำเป็นมากที่จะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย รวมถึงจุดสำคัญต่าง ๆ ที่เราจะต้องไปให้ถึงร่วมกัน และสื่อสารให้ชัดเจน ปกติแล้วเรานั้นจะเริ่มจากจุดหมายที่ใกล้ตัวก่อนเพื่อให้เราสามารถทำได้ง่ายและ จากนั้นจึงค่อย ๆ เริ่มถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น ไปยังคนที่เป็นระดับหัวหน้าในกลุ่มต่าง ๆ  และพยายามให้มีการสื่อสารกันอย่างชัดเจนต่อเนื่อง ซึ่งคนที่เป็นแนวหน้าในการดำเนินการจำเป็นจะต้องมีการ รวมกลุ่มกันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นการ Update กันทุกวันในตอนเช้า หรืออาจจะเป็นจดหมาย หรือ Town Hall และบทความที่ส่งในการภายในด้วย

จากการวิเคราะห์นั้นเราพบว่า การที่เราจะสร้างอะไรขึ้นมาที่มีคุณค่านั้น เป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการประหยัดงบประมาณ การเพิ่มรายได้ การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน รวมไปถึงความพึงพอใจของพนักงานและลูกค้าก็ตาม ซึ่งการทำงานแบบใหม่หรือแนวทางการทำงานแบบใหม่ จึงมีความจำเป็นในปัจจุบัน เพราะว่าเราจะสามารถกำหนดสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น ความถี่ในการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ หรือสัดส่วนในการปรับให้ระบบเป็นอัตโนมัติมากขึ้น หรือสัดส่วนในการเปลี่ยนการให้บริการจากช่องทางหนึ่งไปสู่อีกช่องทางหนึ่ง เป็นต้น

การลงทุนอย่างมั่นใจและเหมาะสม

เราจะมาแนะนำว่าการทำ Digital Transformation นั้นควรที่จะพิจารณางบต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เหมาะสม และละเอียด เนื่องด้วยมันเป็นงบก้อนใหญ่ ซึ่งการลงทุนดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นผลตอบแทนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ว่าเราจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงและผลกำไรในระยะยาวต่างหากและสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย บริษัทจำเป็นจะต้องบริหารงบประมาณเพื่อนำมาปรับปรุงกิจการของตัวเองในปัจจุบัน และเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมา รวมไปถึงการจ้างผู้ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อมาสร้างนวัตกรรมให้บริษัท แต่ถ้าหากต้องการให้เร็วกว่านั้น ก็จำเป็นจะต้องไปลงทุนในบริษัทคู่ค้า หรือว่าบริษัทที่ให้เงินทุนบริษัทอื่นต่อ เพื่อให้สามารถได้นวัตกรรมได้ในเวลารวดเร็ว

การมีโครงการที่ดี

อย่างที่เราได้บอกไปในหัวข้อที่ผ่านมา ว่าตอนที่เรานั้นคิดจะเริ่มทำเราควรที่จะตั้งเป้าหมายที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ก่อน เพื่อเป็นการ Momentum ต่อไปในเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น และโครงการที่ดีนั้น มันจะต้องเป็นโครงการที่มีระยะสั้น และอธิบายความต้องการได้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีการวัดผลได้อย่างแม่นยำ เราจึงจะเรียกว่าโครงการที่ดี หลังจากนั้นเราก็เริ่มทำโครงการที่จะเปลี่ยนเข้าสู่ยุค Digital Transformation ไม่ต้องใหญ่มากก็ได้ โดยมีการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ที่มีผลเชิงบวก เช่น จะทำอย่างไรที่ทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีขึ้น หรือ จะเพิ่มยอดขายขึ้นได้อย่างไร เป็นต้น อย่างที่บอกต้องชัดเจนและวัดผลได้

ใช้ทีมที่เก่งและมีประสบการณ์

ในตอนนี้มีแต่งานใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเราเรียกว่า Chief Digital Officer ซึ่งคนเหล่านี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนเข้าสู่ยุค Digital Transformation หรือยุคแห่งนวัตกรรม และป้องกันไม่ให้บริษัทตกเป็นเหยื่อของยุคที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจากผลการศึกษาเราพบว่า ประมาณ 19 % ของบริษัทชั้นนำของโลกมี CDO แล้ว และมากกว่านั้น 60% มีการทำงานมาตั้งแต่ปี 2015 และนี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงแม้ว่าจะชั่วคราวก็ตาม เหมือนกับที่เคยย้อนไปใน ศตวรรษที่ 19 ซึ่งหลายบริษัทในโลกของเรานั้นเคยมีตำแหน่ง Chief Electricity Officer เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานของอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น อีกไม่กี่ปีต่อมา แล้วก็ไม่มีตำแหน่งนี้อีก

การสร้างการทำงานแบบ Agile

Agile นั้นเป็นแนวทางของการทำงานแบบใหม่ในยุคของ Digital Transformation ที่จะเข้ามาลดความสูญเสียและสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Agile Oyhoได้ถูกนำมาใช้ในด้านของไอทีเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เหมือนกับที่เรารู้จัก Waterfall Method และในการพัฒนาซอฟต์แวร์นั่นแหละ ซึ่งหัวใจหลักของเรื่องนี้ก็คือการกำหนดความเร็วและการบริหารงานในส่วนย่อย ซึ่งลักษณะการทำงานจะเป็นแบบการแบ่งงานออกมาเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และเนื้องานที่สั้น แต่เราจะทำให้สำเร็จแบบถี่ ๆ ไปเรื่อย ๆ ตามแผนระยะยาวที่เรานั้นได้วางไว้

การรักษาวัฒนธรรมและความเป็น Digital

องค์กรของเราจะต้องให้ความสำคัญ กับความเข้าใจและความรู้ที่มีอยู่ในบริษัทที่พวกเขานั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ และต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าทำไมเราถึงต้องเป็นแบบนี้ ทำไมเราต้องทำสิ่งนี้ และพฤติกรรมแบบไหนที่พวกเขาจะต้องทำ เพื่อให้องค์กรเกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างสำเร็จ และจะต้องมีความโปร่งใส และทำให้มั่นได้ใจว่าไม่มีทีมไหน ที่จะไม่ได้เดินไปพร้อมกับทีมอื่น ๆ มีงานวิจัยบอกว่า 46 % ของทีมผู้บริหารทางด้านการเงินรู้สึกว่าวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยน เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Transformation

เริ่มต้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ในเรื่องของการเงินและทรัพยากรของบุคคลไม่เคยมีวันจบ เพราะต้องมีการสรรหาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสรรโครงสร้างองค์กร และ Skill อย่างเหมาะสมในการทำงาน มันเป็นความท้าทายและมีความเสี่ยงสูง เพราะว่าการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดพลาดนั้นอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบให้กับองค์กรได้

เพิ่มความสามารถ

ทักษะของแต่ละคนนั้นเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องการการผลักดันมากขึ้นในระหว่างการทำ Digital Transformation และที่ผ่านมานั้น เราพบว่าหลายบริษัทติดขัดในการจ้างคนที่มีสกิล Digital ใหม่ ๆ เพื่อเข้ามาเป็นกำลังในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งคนเหล่านี้ควรจะต้องมีทักษะ หรือ  Digital skill ความรู้ในด้าน Technology และ กระบวนการทำงานต่าง ๆ จึงจะสำเร็จได้

มีแนวทางการทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ

ในแนวทางการทำงานนั้นสามารถเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่จะใช้เป็นตัวบอกว่าจะสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้ยังไง หรือเป็นตัวบอกว่าตอนนี้บริษัทกำลังดำเนินไปในแบบที่เหมาะสมแล้วหรือเปล่า ดังนั้นการทำงานในรูปแบบใหม่ ที่มีการนำเอามาใช้ มีความจำเป็นมาก และเราก็ต้องไม่ลืมข้อข้างบนด้วย ว่าควรจะชัดเจน และวัดผลได้ เพื่อที่จะให้คนทำงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจว่า เรากำลังทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร

สุดท้ายนี้การทำ Digital Transformation Framework นั้นเป็นการพัฒนาองค์กรโดยการพัฒนาให้อยู่ในกรอบและแนวทางต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวไป การให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์กรในยุค Digital Transformation ในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ไม่ควรมองข้ามการพัฒนาให้องค์กรมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่งในทุก ๆ ด้านจะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน

อ้างอิง : https://makeitonline.in.th/2020/digital-transformation-framework-from-mckinsey

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมด้วย Workflow ให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด